แชร์

ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร??

อัพเดทล่าสุด: 1 ก.ค. 2024
226 ผู้เข้าชม

การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ เพื่อหาความเสี่ยง และความผิดปกติที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายในอนาคตได้ เช่น ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ตรวจการทำงานของไต ตรวจการทำงานของตับ เป็นต้นซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เป็นโรคร้ายแรงกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะบางโรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อป่วยเป็นระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้วนั่นเอง 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

 สภาวะสิ่งแวดล้อม ในตอนนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีสภาพอากาศไม่เหมือนกับแต่ก่อนเนื่องจากเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 มาสักพักใหญ่ ๆ แล้ว ด้วยตัวเมืองใหญ่ที่มีผู้คนพลุกพล่านอย่างเช่น กรุงเทพฯ ยิ่งสังเกตเห็นได้ว่าทุกคนมีความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบจึงไม่ใช่เพียงคนไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อบุคคลเชื้อชาติอื่น ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฝุ่น PM 2.5 เท่านั้น หากจะกล่าวให้ถูกต้องถึงจะไม่มีฝุ่นละอองเหมือนทุกวันนี้ เราก็ต้องเผชิญกับควันจากยานพาหนะตามเมืองใหญ่อยู่ดี การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยสืบเสาะหาความผิดปกติในร่างกายได้อย่างละเอียด และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที


 โรคระบาดเกิดใหม่ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นโรคระบาดกำเนิดใหม่ขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ อาจจะไม่ตลอด แต่ก็มีขึ้นมาอย่างไม่ขาดสายอย่างล่าสุดที่เราได้เห็นคือ โควิด-19 (Covid-19) ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในประเทศจีน นอกจากนี้อาการจากโรคระบาดหลายโรคอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพทางหนึ่งคือการตรวจสุขภาพประจำปีนั่นเอง ในช่วงที่ไวรัสหรือโรคร้ายแพร่ระบาดการตรวจสุขภาพอย่างตรงจุดจะสามารถพบเจอสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ก่อนที่เชื้อโรคนั้นจะลุกลามจนยากเกินจะรักษา

 ไม่เป็นไรไม่ใช่ปลอดภัย หลายต่อหลายครั้งที่เรามักคิดว่าร่างกายของเราแข็งแรงดี ไม่มีอาการไอ ไม่ปวดหัว ไม่มีไข้ ไม่ปวดเมื่อยตามตัว เท่ากับว่าเราแข็งแรงดี นั่นไม่ใช่ความจริง จริงอยู่ที่สำหรับบางคนอาจแข็งแรงจริง ๆ แต่เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์อยู่รอบตัวเราแทบทุกที่ นั่นหมายความว่าใน 1 วัน เป็นเรื่องที่ยากมากหากเราจะหลีกเลี่ยงเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ 100 % ไม่เพียงแต่เท่านั้น โรคร้ายหลายโรคมักแสดงอาการเมื่อมีการแพร่กระจายในร่างกายเข้าขั้นรุนแรงแล้ว เช่น โรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ ที่มักปรากฏอาการเมื่อเข้าสู่ช่วงแพร่เชื้อมะเร็งจนอวัยวะเกิดความเสียหายไปแล้ว หรือจะเป็นการติดเชื้อ HIV ที่มีอาการให้สังเกตได้น้อยมาก และเชื้อ HIV เองก็สามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายเราได้หลายปีก่อนจะเข้าสู่ภาวะของโรคเอดส์ในที่สุด ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงสำคัญมากสำหรับคนที่รักสุขภาพและต้องการตรวจหาโรคร้ายที่เราไม่เห็นด้วยตาเปล่า

 เรียนรู้เพื่อป้องกัน การตรวจสุขภาพประจำปีไม่ใช่เพียงแต่เป็นการตรวจหาโรคร้ายที่หลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางการเรียนรู้ร่างกายของตัวเราเอง หากถามว่าเรารู้จักร่างกายของเราเองไปเพื่ออะไรหากไม่เป็นโรค คำตอบคือการที่เราได้รู้ความสมบูรณ์ของร่างกายของเราจะทำให้เห็นจุดที่อาจจะบกพร่องได้ในอนาคต หรือจุดที่เราพบว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหากไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้บางคนอาจไม่รู้ว่าตนเองมีโรคที่ถูกส่งต่อผ่านพันธุกรรมมาหรือเปล่า ดังนั้นการรู้จักร่างกายของตัวเราเองจากการตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นการวางแผนสุขภาพในอนาคตด้วย หากพบเจอความเสี่ยงแน่นอนว่าเราสามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันและพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายต่อไปได้

            การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

  • งดอาหาร 8-10 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจสุขภาพ
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชม.ก่อนตรวจสุขภาพ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
  • คุณผู้หญิงไม่ควรมีประจำเดือนในช่วงตรวจสุขภาพ
  • งดการตรวจเอกซเรย์ในช่วงตั้งครรภ์

    สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยงกับการตรวจ หรือสอบถามค่าบริการได้ที่
      LINE : @HPGLAB

บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งปากมดลูก
เป็นประโยชน์ในการตรวจติดตามการรักษาผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วตรวจพบไวรัส HPV ว่าร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้ (Clearance) หรือยังคงติดเชื้อซ้ำ HPV สายพันธุ์เดิมไม่สามารถกำจัดได้ (Persistence) ซึ่งการติดเชื้อซ้ำนี้มีโอกาสเพิ่มการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ สามารถบอกถึงภาวะติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ (Co-infection) ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจข้อมูลสายพันธุ์ของเชื้อ HPV สามารถมีข้อมูลเลือกวัคซีนที่เหมาะสมในการป้องกันได้ สามารถเก็บข้อมูลระบาดวิทยาของ HPV แต่ละสายพันธุ์ได้ ทราบข้อมูลทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการตรวจแบบแยกระบุสายพันธุ์ได้ ตรวจครอบคลุม HPV ความเสี่ยงสูงที่มีในวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมป้องกันมะเร็งมากที่สุดในปัจจุบัน
เทคโนโลยีการตรวจมะเร็งเต้านมระดับยีน
มะเร็งเต้านมจากข้อมูลสถิติในปี 2558 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั่วโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 6,255,000 ราย และในทุกๆ 1 นาที จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม 1 ราย นั่นเป็นเพราะผู้หญิงมักเข้าใจว่าเป็นมะเร็งเต้านมต้อง..คลำพบก้อน! ทั้งที่จริงๆ แล้ว ก้อนที่เต้านมอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งเสมอไป นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจคัดกรองมะเร็งถึงสำคัญ เพราะการคลำเต้านมเองอาจไม่ใช่วิธีการค้นหาเซลล์มะเร็งที่ดีที่สุด!
สูดฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง กระตุ้นกลายพันธุ์ยีนส์ EGFR-KRAS เสี่ยงมะเร็งปอด!
สูดฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง กระตุ้นกลายพันธุ์ยีนส์ EGFR-KRAS เสี่ยงมะเร็งปอดมลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 กำลังทวีความรุนแรงและกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy